สวัสดีครับ วันนี้อยากมาแนะนำผู้อ่านให้รู้จักอุปกรณ์ช่วยกระจายแรงกดทับที่มีจำหน่ายอยู่ในประเทศไทยขณะนี้ ซึ่งมีคุณลักษณะ และการใช้งานที่แตกต่างกันครับ
- ที่นอนลมแบบรังผึ้ง
- Alternate Support Area (แรงต่อพื้นที่ต่อหนึ่งพื้นที่แต่ละการพองยุบจะสูง แต่แรงต่อพื้นที่ต่อหนึ่งช่วงเวลาที่ครอบคลุมการพองยุบหลายครั้งจะต่ำ เนื่องจากจะมีการสลับการพองยุบ เพื่อช่วยลดแรงกดทับต่อ 1 หน่วยพื้นที่)
- ไม่มีระบบระบายอากาศ Low Air Loss ช่วยลดความชื้นและความร้อน เนื่องจากที่นอนลมจะเป็นพลาสติกปิด
- มีการทำงานสลับ
- ถ้าหากรอนรั่วจะต้องใช้วิธีปะ ไม่สามารถเปลี่ยนลอนได้
- ถ้าหากเครื่องปั๊มตันหรือเสีย จะต้องส่งซ่อม
- ที่นอนลมแบบลอน 2-Cell Alternate (Dual-Cell)
- Alternate Support Area
- ไม่มีระบบระบายอากาศ Low Air Loss ช่วยลดความชื้นและความร้อน เนื่องจากที่นอนลมจะเป็นพลาสติกปิด
- ไม่มี CPR Valve สำหรับระบายลมฉุกเฉิน
- มีการทำงานสลับ 2 Cell Alternate (Dual Cell Alternate)
- ถ้าหากรอนรั่วสามารถเปลี่ยนลอนได้
- ถ้าหากเครื่องปั๊มตันหรือเสีย จะต้องส่งซ่อม
- ที่นอนลมแบบลอน 3-Cell Alternate (Tri-Cell)
- Alternate Support Area
- มีระบบระบายอากาศ Low Air Loss ช่วยลดความชื้นและความร้อน เนื่องจากที่นอนลมจะเป็นพลาสติกปิด
- มี CPR Valve สำหรับระบายลมฉุกเฉิน
- มีการทำงานสลับ 3 Cell Alternateกระจายแรงได้ดียิ่งขึ้น เนื้องจากพื้นที่สัมผัสต่อหนึ่งหน่วยเวลามีมากกว่าแบบ 2-cell alternate (พอง 2 ยุบ 1 เทียบกับ พอง1ยุบ1 คำนวณพื้นที่สัมผัสคร่าวๆคือ 2/3 = 0.67 เทียบกับ 1/2 = 0.5)
- ถ้าหากรอนรั่วสามารถเปลี่ยนลอนได้
- ถ้าหากเครื่องปั๊มตันหรือเสีย จะต้องส่งซ่อม
- ที่นอนโฟมสำหรับกระจายแรงกดทับ
- Static Support Area (แรงต่อพื้นที่ต่อหนึ่งพื้นที่จะต่ำ ไม่ต้องใช้การพองยุบกระจายแรง)
- ใช้เทคโนโลยีวัสดุ ในการออกแบบชั้นโฟมที่มีความหนาแตกต่างกัน
- ใช้เทคโทคโนโลยีการตัดและประกอบที่ช่วยให้กระจายแรงกดทับได้ดีที่สุด
- ไม่มีปัญหาด้านลอนรั่ว
- ไม่มีปัญหาด้านปั๊มตัน กระบอกสูบเสีย หรือสายรั่ว
- ไม่ต้องใช้ไฟฟ้า
- ไม่ต้องมีที่นอนลมสำรอง รวมเป็น 2 เครื่อง
- เบาะรองนั่งแบบลม
- เบาะรองนั่งแบบช่วยกระจายแรงเบื้องต้น
- จำนวน cell น้อยกว่าแบบ professional จึงกระจายแรงได้ต่ำกว่า
- มีช่องลมที่เชื่อมต่อกันทุก cell ช่วยให้ลมไหลไปรับกับกับ ด้านที่มี pressure สูงกว่า เพื่อสุดท้ายถัว pressure ให้เท่ากัน
- มีร่องระหว่าง cell ช่วยระบายอากาศ
- ช่วยในเชิงป้องกัน
- สามารถใช้บนเก้าอี้ และรถเข็นที่ผู้ป่วยใช้เวลาอยู่นาน
- เบาะรองนั่งแบบลมแบบจัดท่าผู้ป่วยได้
- เบาะรองนั่งแบบช่วยกระจายแรงเบื้องต้น
- จำนวน cell มีเยอะ
- แต่ละ cell มีการออกแบบให้มีครีบ เพื่อรับแรงบิดหากมีการขยับ ช่วยลดแรงเฉือน ระหว่างผู้ป่วยกับที่นั่ง
- มีร่องระหว่าง cell ช่วยระบายอากาศ
- มีช่องลมที่เชื่อมต่อกันทุก cell ช่วยให้ลมไหลไปรับกับกับ ด้านที่มี pressure สูงกว่า เพื่อสุดท้ายถัว pressure ให้เท่ากัน
- สามารถใช้บนเก้าอี้ และรถเข็นที่ผู้ป่วยใช้เวลาอยู่นาน
- มีวา์ลวล๊อกการไหลของลมเพื่อจัดท่าของผู้ป่วย ที่ไม่สามารถทรงตัวได้ เช่น ล๊อกท่าให้เอียงไปทางซ้าย หากผู้ป่วยเอนขวา